ปจ.2 คืออะไร การตรวจสอบมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ปจ.2 คืออะไร การตรวจสอบมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ปจ.2 คืออะไร การตรวจสอบมีขั้นตอนอะไรบ้าง เครื่องจักรที่ใช้งานในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือเครนโรงงาน หรือที่เรียกอีกอย่างว่าปั้นจั่น ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก อาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับการใช้กำลังคนในการยกของ แต่การใช้งานเยอะมากเกินไปก็ควรจะมีการตรวจสอบเครนโรงงาน ตามระยะเวลาที่ได้มีการกำหนดไว้ตามกฎหมาย โดยการตรวจสอบเครนโรงงานจะมีการแบ่งประเภทของเครนโรงงานออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ ปจ.2 ว่ามันหมายถึงอะไร และขั้นตอนการตรวจสอบเครนโรงงานประเภท ปจ.2 จะต้องมีขั้นตอนในการทำงานอย่างไรบ้าง สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครนโรงงานห้ามพลาด

ปจ.2 หมายถึงอะไร

ปจ. เป็นตัวอักษรย่อที่ใช้ในการเรียก ปั้นจั่น ซึ่งจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ ปจ.1 และ ปจ.2 ซึ่งในส่วนของ ปจ.2 หมายถึง ปั้นจั่นชนิดที่สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยปั้นจั่นชนิดนี้เป็นชนิดที่ได้มีการนำมาใช้งานอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในงานการก่อสร้าง โดยปั้นจั่นชนิดนี้จะเป็นชนิดที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งเป็นเครนโรงงานที่จะติดอยู่กับตัวยานพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนที่ได้ เช่น เรือเครน รถเครน

ตัวอย่างของ ปจ.2 มีอะไรบ้าง

  • รถเครนตีนตะขาบ
  • รถเครนล้อยาง
  • รถเครน 4 ล้อ
  • รถเฮี๊ยบหรือรถบรรทุกติดเครน

ขั้นตอนการสอบตรวจสอบประเภท ปจ.2

  • ตรวจสอบสภาพการใช้งานของโคตรสร้างหลักของปั้นจั่น ดูตามรอยเชื่อมต่าง ๆ และสภาพการคลายตัวของน็อต
  • ตรวจสอบกำลังเครนในระบบต่าง ๆ
  • ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของปั้นจั่น ดูว่าสามารถเคลื่อนที่ได้ปกติหรือไม่ และดูการทำงานของชุดควบคุมพิกัด
  • ตรวจสอบสัญญาณการแจ้งเตือน สัญญาณไฟ ระบบจะต้องมีเสียงดัง ที่สามารถได้ยินอย่างชัดเจน
  • ตรวจสอบพิกัดการยกน้ำหนัก โดยใช้น้ำหนักจริงในการยกของ เพื่อสามารถตรวจสอบดูได้ว่าสามารถยกของได้อย่างปลอดภัย

ความถี่ในการตรวจสอบเครนโรงงาน

  1. เครนโรงงานที่ใช้งานในการก่อสร้าง จะต้องมีการตรวจสอบเครนโรงงานตามพิกัดความปลอดภัยที่กำหนดไม่เกิน 3 ตัน ต้องทำการทดสอบทุก 6 เดือน แต่ถ้ามีน้ำหนักที่มากกว่า 3 ตัน ให้ทำการทดสอบเครนทุก 3 เดือน
  2. เครนโรงงานที่ใช้งานในงานอื่น ๆ เครนโรงงานที่มีพิกัดความปลอดภัยตามที่ทางด้านของผู้ผลิตได้ทำการกำหนดเอาไว้แล้วนั้นตั้งแต่ 1-3 ตัน จะต้องมีการทดสอบเครนทุกปี แต่ถ้ามีน้ำหนักการยกที่มากกว่า 3 ตันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 ตัน จะต้องมีการทดสอบทุก 6 เดือน หรือถ้ามีน้ำหนักมากกว่า 50 ตันขึ้นไป จะต้องทำการทดสอบเครนทุก 3 เดือน
  3. หากเครนโรงงานไม่มีพิกัดการยกน้ำหนักตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดน้ำหนักยกแทน หากหยุดใช้งานเครนโรงงานเป็นเวลา 6 เดือน หรือนำเครนโรงงานไปซ่อมแซม เนื่องจากมีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งาน จะต้องทำการทดสอบเครนโรงงานทุกครั้งก่อนจะนำมาใช้งาน

เมื่อลองศึกษาเกี่ยวกับการตรวจสอบเครนโรงงานจะพบว่า เครนจะมีทั้งหมดสองรูปแบบ นั่นก็คือ ปจ.1 ซึ่งเป็นเครนโรงงานชนิดอยู่กับที่ และ ปจ.2 ซึ่งเป็นเครนโรงงานชนิดเคลื่อนที่ ซึ่งการทำงานและการตรวจสอบจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน หากโรงงานอุตสาหกรรมต้องการตรวจสอบเครนโรงงาน สยามคิโต้พร้อมให้บริการทั้งในเรื่องของการติดตั้งเครน การอบรมเครน ตรวจสอบเครน ซ่อมเครนโรงงาน ทางเรายินดีให้บริการอย่างเต็มความสามารถ โดยท่านไม่ต้องเป็นกังวล เพราะทางเราจะให้บริการโดยมีผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ที่คอยให้บริการกับทุกท่านอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสนใจใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่

เบอร์โทร : 063-272-8555
Email : sale@siamkito.com
Facebook : @SIAMKITOCorporation
Line ID : @siamkito

Siamkito-banner-เครน-แก้-1536x240

ใส่ความเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้สะดวกยิ่งขึ้น ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่